ต้นไม้(กล้วย)

ประโยชน์ของกล้วยกล้วยมีความผูกพันในวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน คนไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากต้นกล้วย นอกจากบริโภคเป็นอาหารแล้ว ทุกส่วนของกล้วยยังนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งในชีวิตประจำวันด้วย๑. การใช้ประโยชน์ในการบริโภคกล้วยเป็นผลไม้ที่มีเปลือกหุ้มเช่นเดียวกับผลไม้อื่นๆ แต่วิธีการปอกเปลือกกล้วยนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เพียงใช้มือเด็ดปลายหรือจุก ก็สามารถปอกเปลือกได้ด้วยมือและรับประทานได้ทันที จึงเป็นผลไม้ที่รับประทานง่าย ดังคำโบราณว่า “ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก” นอกจากปอกเปลือกง่ายแล้ว กล้วยสุกเมื่อรับประทานแล้ว ก็จะลื่นลงกระเพาะได้ง่าย และย่อยง่าย ด้วยเหตุที่กล้วยลื่นลงกระเพาะได้ง่าย ทำให้บางคนไม่ค่อยเคี้ยวกล้วยซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด การรับประทานกล้วยจำเป็นต้องเคี้ยวให้ละเอียด เพราะกล้วยมีแป้งร้อยละ ๒๐ – ๒๕ ของเนื้อกล้วย ถ้าเคี้ยวไม่ละเอียด น้ำย่อยในกระเพาะต้องทำงานหนัก หากย่อยไม่ทันกล้วยจะอืดในกระเพาะ อย่างไรก็ตาม กระเพาะของคนใช้เวลาในการย่อยกล้วยสั้นกว่าการย่อยส้ม นม กะหล่ำปลี หรือแอปเปิล ดังนั้นคนไทยจึงนิยมใช้กล้วยที่ขูดเอาแต่เนื้อ ไม่เอาไส้ บดละเอียดให้ทารกรับประทาน นอกจากทารกแล้ว คนชราก็รับประทานกล้วยได้ดีเช่นกัน ในกรณีคนหนุ่มสาว กล้วยเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วน เนื่องจากกล้วยมีคุณค่าทางอาหารสูงพอๆ กับมันฝรั่ง แต่มีปริมาณไขมัน คอเลสเตอรอล และเกลือแร่ต่ำ กล้วยมีโซเดียมเพียงเล็กน้อย แต่มีโพแทสเซียมสูง การมีโพแทสเซียมสูงนี้จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ ในประเทศอินเดียมีความเชื่อว่า หากรับประทานกล้วย ๒ ผลต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ถึงร้อยละ ๑๐ ภายในระยะเวลา ๑ สัปดาห์

กล้วยยังเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และท้องเสียบ่อย เพราะสามารถช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ กล้วยเมื่อยังดิบจะมีแป้งมาก แต่เมื่อสุก แป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ดังนั้นหากท้องเดิน การกินกล้วยดิบจะช่วยทำให้อาการท้องเดินหยุดได้ และเมื่อเป็นโรคกระเพาะ ให้กินกล้วยที่สุกแล้ว สำหรับกล้วยที่ทำให้สุกด้วยความร้อน วิตามินจะลดลง

๒. การใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมต่างๆ และในชีวิตประจำวัน

  • ในพิธีทางศาสนา เช่น การเทศน์มหาชาติ และการทอดกฐิน มักใช้ต้นกล้วยประดับธรรมาสน์ และองค์กฐิน
  • ในพิธีตั้งขันข้าว หรือค่าบูชาครูหมอตำแย สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และไปขอให้หมอตำแยทำคลอดให้ จะต้องใช้กล้วย ๑ หวี พร้อมทั้งข้าวสาร หมากพลู ธูปเทียนสำหรับการทำพิธีบูชาครูก่อนคลอด และเมื่อคลอดแล้ว จะต้องอยู่ไฟ ก็ยังใช้ต้นกล้วยทำเป็นท่อนล้อมเตาไฟ ป้องกันการลามของไฟ
  • ในพิธีทำขวัญเด็ก เมื่อเด็กอายุได้ ๑ เดือน กับ ๑ วัน มีการทำขวัญเด็กและโกนผมไฟ จะมีกล้วย ๑ หวี เป็นส่วนประกอบในพิธีด้วย
  • ในพิธีแต่งงาน มักมีต้นกล้วยและต้นอ้อยในขบวนขันหมาก พร้อมทั้งมีขนมกล้วย และกล้วยทั้งหวี เป็นการเซ่นไหว้เทวดาและบรรพบุรุษ
  • ในการปลูกบ้าน เมื่อมีพิธีทำขวัญยกเสาเอก จะใช้หน่อกล้วยผูกมัดไว้ที่ปลายเสาร่วมกับต้นอ้อย และเมื่อเสร็จพิธี ก็จะมีการลาต้นกล้วยและต้นอ้อยนั้น นำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จากนั้นประมาณ ๑ ปี หรือเมื่อปลูกบ้านเสร็จแล้วพร้อมอยู่อาศัย ก็มีกล้วยไว้กินพอดี
  • ในงานศพ ในสมัยโบราณ มีการนำใบตอง มารองศพ ก่อนนำศพวางลงในโลงนอกจากนี้ ใบตองยังมีบทบาทสำคัญมากในพิธีกรรมต่างๆ โดยการนำมาทำกระทงใส่ของ ใส่ดอกไม้ และประดิษฐ์เป็นกระทง บายศรี
  • ในชีวิตประจำวัน ใช้ใบตองในการห่อผักสดและอาหาร เนื่องจากใบตองสดมีความชื้น ดังนั้นเมื่อใช้ห่อผักสดหรืออาหาร ความชื้นจะช่วยรักษาผักหรืออาหารให้สดอยู่เสมอ นอกจากนี้ใบตองยังทนทานต่อความเย็นและความร้อน ดังนั้นเมื่อนำใบตองห่ออาหารแล้วเอาไปปิ้ง นึ่ง ต้ม ใบตองก็จะไม่สลายหรือละลายเหมือนเช่นพลาสติก จึงมีอาหารหลายอย่างที่ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่ง เช่น ห่อหมก ข้าวต้มผัด ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ หรือเอาไปปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง หรือนำไปต้ม เช่น ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มจิ้ม อาหารเหล่านี้เมื่อนำไปต้ม ปิ้ง หรือนึ่งแล้ว ยังทำให้เกิดความหอมของใบตองอีกด้วย สำหรับใบตองแห้ง นำมาใช้ทำกระทงเพื่อใส่อาหาร ห่อกะละแม มวนบุหรี่ โดยใบตองแห้งก็จะมีกลิ่นหอมเช่นกัน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการทดลองนำเอาใบตองแห้งมาอัดกันแน่นหลายๆ ชั้น ทำเป็นภาชนะใส่ของแทนการใช้โฟมได้อีกด้วย

ใบตองแห้งยังนำไปใช้ในงานศิลปกรรมไทยได้อีกหลายอย่าง เช่น นำไปทำ รักสมุก ในงานของช่างเขียน ช่างปั้น ช่างแกะ และช่างหุ่น เพราะรักสมุกใบตองแห้ง ช่วยในการเคลือบและปกป้องเนื้อไม้ ขัดแต่งง่าย เมื่อแห้งผิวเป็นมัน น้ำหนักเบา เหมาะในการทำหัวโขน และการลงรักปิดทอง

ในสมัยโบราณ เมื่อยังใช้เตารีดที่เป็นเตาถ่าน หากเตาร้อนมากไป ก็เอามารีดบนใบตองสด ก่อนนำไปรีดบนผ้า เพราะใบตองมีสารจำพวกขี้ผึ้งหุ้มอยู่ ขี้ผึ้งจะช่วยเคลือบเตารีด ทำให้รีดผ้าไม่ติด

กาบกล้วย ใช้ในศิลปะการแทงหยวกไว้ที่เชิงตะกอนเวลาเผาศพ ส่วนใหญ่ใช้กาบกล้วยตานี เพราะกาบกล้วยตานีขาวสะอาด ทำให้หยวกที่แทงมีลวดลายสวยงาม งานแทงหยวกเป็นงานที่ต้องทำหลายคนแล้วเอามาประกอบกัน โดยช่างผู้ทำต้องสลักเป็นลายไทยต่างๆ เช่น กระจังตาอ้อย กระหนกเปลว ครีบสิงห์ แข้งสิงห์ รักร้อย และเครือเถา นอกจากนี้กาบกล้วยยังนำมาฉีกเป็นเส้นใหญ่ๆ ใช้มัดผักเป็นกำๆ เช่น ชะอม ตำลึง เพื่อให้ความชื้นกับผัก เพราะกาบกล้วยมีน้ำอยู่มาก ถ้าฉีกเป็นเส้นเล็กๆ ก็ใช้มัดของแทนเชือกได้ กาบกล้วยเมื่อแห้งอาจนำมาทำเป็นเชือกกล้วย สำหรับผูกของและสานทำเป็นภาชนะรองของ หรือสานเป็นกระเป๋าสุภาพสตรี นอกจากนี้ใยของกาบกล้วยยังนำมาใช้ทอผ้าได้ด้วยเช่นกัน

ต้นกล้วย ที่หั่นเป็นท่อนๆ อาจใช้เป็นทุ่นลอยน้ำให้เด็กๆ ใช้หัดว่ายน้ำ หรือนำมาทำเป็นแพสำหรับตั้งสิ่งของให้ลอยอยู่ในน้ำ

ก้านกล้วย เมื่อเอาแผ่นใบออก แกนกลางหรือเส้นกลางใบ อาจนำมาใช้มัดของ หรือนำมาทำของเล่นเด็กๆ ได้ เช่น ทำเป็นม้าก้านกล้วย และปืนก้านกล้วย ซึ่งเป็นของเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อน

ต้นไม้(ตีนเป็ด)

ลักษณะ[แก้]

เปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้นๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น

ต้นไม้ประจำจังหวัด[แก้]

สัตบรรณ ถือเป็นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับพระราชทานพันธุ์ไม้ดังกล่าวจากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเพื่อความเป็นศิริมงคลของประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาครผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครจึงได้นำพันธุ์ไม้สัตบรรณพระราชทานมาปลูกเป็นปฐมฤกษ์ ในกิจกรรมวันปลูกต้นไม้ตาม โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2537 ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร จึงถือได้ว่าต้นสัตบรรณเป็นต้นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร

การใช้ประโยชน์[แก้]

ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่างๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพรเช่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรียในชื่อ Ayush-64 ซึ่งมีขายตามท้องตลาด นำยางสีขาวและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ นอกจากนี้ ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สาคัญ[1] ในบอร์เนียว นำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวน

พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้[2] สารสกัดจากเปลือกลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของข้าว ข้าวโพด คะน้า ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันได้[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้นไป: 1.0 1.1 ประไพรัตน์ สีพลไกร. สารอินโดลอัลคาลอยด์และฤทธิ์ทางชีวภาพของต้นพญาสัตบรรณ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 14(1):54 – 65 มกราคม – มีนาคม 2555
  2. กระโดดขึ้น ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี. 2553. ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 412-421
  3. กระโดดขึ้น ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2554. ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 419-428

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ต้นไม้(ประดู่แดง)

ประดู่แดง  มี 2 ต้นที่ตึก คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาฯ และเป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ปลูกโดย ศ.วรวิทย์ เงยไพบูลย์ มีอายุ 60 ปี จึงมีฉายาว่า “ซากุระประดู่แดง” เมื่อดอกร่วงลงสู่พื้นดิน บริเวณใต้โคนต้นประูดู่แดงเหมือนใครเอาพรหมมาปูไว้ สีแดงเป็นกำมะหยี่ ออกดอกเป็นกระจุก เป็นช่อ เป็นพวง ออกดอกไม่พร้อมกัน จะทยอยกันออก ทยอยกันบาน ไม่ได้บานพร้อมกัน แต่เมื่อเวลาร่วงหล่น จะร่วงหล่นพร้อมกันครับ และเมื่อดอกบานแล้วจะแดงสพรั่ง ดอกมีกลิ่นหอม เป็นได้ทั้งไม้ป่า ไม้ประดับ และไม้หอม เดือนมกราคม – กุมภาพันธุ์ จะเริ่มออกดอก เมื่อออกดอก ใบจะร่วงลงหมด  ความสูงโดยประมาณ 10-20 เมตร

ไม้ประดู่แดง จะมีผลเป็นฝักแบนเมล็ดก็แบนเช่นเดียวกัน เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิด ในประเทศกัวเตมาลา ทางทวีปอเมริกาใต้

ต้นประดู่แดงมีชื่อในภาษาไทยอีกชื่อหนึ่งว่า: วาสุเทพ

และเรียกชื่อภาษาอังกฤกษ(Monkey Flower Tree,Fire Of PPakistan) เป็นประเภทพวกไม้ยืนต้น  ชอบแสงแดดจัดๆ ขึ้นได้ทุกสภาพดี โดยเฉพาะดินร่วน และดินที่มีการระบายน้ำได้ดี

ลักษณะของเนื้อไม้ประดู่ จะเป็นไม้เนื้อแข็งมีลายเป็นริ้วสีแดง เป็นไ้ม้ที่ชักเงาหรือขัดเงาขึ้น เหมาะสำหรับนำไปทำเฟอร์ฯ และพื้นกระดานมากๆ ลวดลายสวยงามากเป็น ไม้ป่าน่าปลูก

ราคาซื้อขาย ไม้ประดู่แดง ที่ยังเป็นท่อนซุงซึ่งยังไม่ได้แปรรูปปัจจุบันมีการสั่งซื้อจากประเทศลาว เพราะประเทศไทยนั้นไม่มีแล้ว ซื้อขายกันราคายังค่อนข้างแพง ที่ทราบมา ไม้ประดู่แดงเป็นท่อนซุงยังมิได้แปรรูป ราคาขายอยู่ที่ 2000 เหรียญสหรัฐ ต่อ ลูกบาศก์เมตร

ความเชื่อของคนโบราณถือว่า ต้นประดู่เป็นไม้ที่สร้างความสามัคคี  ไม้แห่งความรัก มีใจเป็นหนึ่งเดียวกัน มีพลัง เป็นไม้ประจำตราสัญลักษณ์กองทัพเรือ นำมาทำเครื่องดนครี เช่นระนาด ไม้ตีกรับ ไม้เนื้อแข็ง แข็งแกร่ง ลายไม้สวย

ท่านที่มีที่ดินว่างๆ อยากจะปลูกก็ลองหาซื้อต้นพันธุ์ใกล้ๆ บ้านของท่านมาปลูกันนะครับ แนะนำให้ปลูกหน้าบ้าน หรือเส้นทางเข้าบ้าน เข้าสวนของท่านครับ ใครผ่านไปผ่านมา จะต้องตะลึงถึงความงามของเขาครับ เพราะไม้ประดู่แดงเป็นทั้งไม้ป่า ประโยชน์ใช้สอยเพียบ นอกนั้นก็ยังเป็นไม้ประดับสำหรับคนรวยอีกต่างหากครับ ซึ่งผมได้เห็นบ้านเศรษฐีหลายหลัง ท่านได้ซื้อไม้ล้อมต้นใหญ่ๆ มาปลูกหน้าบ้านของท่านนะครับ ผมคิดว่า ต้นหนึ่งคงเป็นแสนครับ รวมทั้งค่าขนส่งด้วย..ใครเดินผ่านไปผ่านมา จะได้กลิ่นหอม ฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณนั้นเลยครับ

ถ้าอยากได้ต้นกล้าไม้ประดู่แดง รากแข็งแรง ก็ติดต่อเราได้นะครับ มีหลายไซด์ หลายขนาดให้เลือกครับ แต่จะมีเป็นช่วงๆ นะครับ ไม่ได้มีเสมอไป ต้องโทรมาสอบถามล่วงหน้าก่อนครับ